หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
 
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบล ศรีมงคล ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ที่ทำการองค์กรบริหารส่วนตำบลศรีมงคล
ท้องถิ่นน่าอยู่   ควบคู่ธรรมาภิบาล
การศึกษามีคุณภาพ   งานวัฒนธรรมประเพณี
สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้   วิถีการเมืองภาคประชาชน
วิสัยทัศน์
อบต.ศรีมงคล รวมใจ
        ถวายพ่อหลวง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเฉลิมพระเกียรติ
อบต.ศรีมงคล
พร้อมบริการด้วยใจและรอยยิ้ม
องค์การบริหารส่วนตำบล ศรีมงคล
ต.ศรีมงคล อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ 67160
1
2
3
4
5
   
ผลิตภัณฑ์จากยางรถยนต์
 
วัดวิมลญาณประชาสรรค์
 



 
เศียรพระคู่ตำบล ศรีมงคลพริกเผ็ด รสเด็ดกระยาสารท บรรยากาศรื่นรมย์ สวยสมหัตถกรรมไม้เก่า
   
 
 
 


 
ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน  
 

ASEAN Economic Community ( AEC )
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                    ASEAN Economic Community     (AEC)    หมายถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีเป้าหมายส่งเสริมอาเซียนให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ และเงินลงทุนอย่างเสรี ภายในปี พ.ศ. 2558  (ค.ศ.2015)  

                 ความเป็นมา
                    อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510  มีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ  แบ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ คือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กลุ่ม CLMV (  Cambodia   Laos   Myanmar   Vietnam )

                 วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง                          
                  อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมินาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการาค้ารุนแรงขึ้นทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังคงไว้ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการดังนี้
- ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค
- รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค
- ใช้เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค

  เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
               อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี  2558  (ค.ศ. 2015)   โดยมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single market and production base) และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนแรงงานฝึมืออย่างเสรี และการเคลื่อนยายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น (free flows of goods, services, investment, and skilled labors, and free flow of capital)

                       ความคืบหน้าการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ความเป็นมา
             ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนตุลาคม 2546  ณ เกาะบาหลี ผู้นำอาเซียนประกาศเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน (แถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2) คือการพัฒนาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยมีเสาหลักอีก    2 ด้าน คือด้านความมั่นคงและสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี ค.ศ. 2020 และต่อมาได้เร่งเป้าหมายเป็นปี ค.ศ. 2015


    
          เพื่อเร่งรัดการจัดตั้ง AEC  ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อเดือนสิงหาคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เห็นชอบที่จะจัดทำแผนงานเชิงบูรณาการด้านเศรษฐกิจ โดยระบุ
เป้าหมายและกรอบระยะเวลาในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ สำหรับประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศไว้ชัดเจน
              อาเซียนได้จัดทำแผนงานดังกล่าวแล้วเสร็จและมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้อาเซียนมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ
1 การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน  มีการเคลื่อนย้าย บริการ การลงทุนและแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม
2 การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีการประสานนโยบายที่จะส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายภาษี รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง การเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน
3 การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน ส่งเสริมการพัฒนาและการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของ SME และการลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI)
4 การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่นการจัดทำเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
สถานะล่าสุด
             ณ ปัจจุบัน อาเซียนได้ดำเนินงานตามแผนงานการจัดตั้ง AEC มีความคืบหน้าที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ดังนี้
              การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี
                 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  และไทย) ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียน เป็น  0 %  และ  CLMV ได้ลดภาษีสินค้ามาอยู่ที่ระดับ 0 – 5 % แล้ว
                 มีการทบทวนและปรับปรุงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนให้ง่าย ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าและสนับสนุนให้ภาคเอกชนใช้สิทธิประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียนเพิ่มขึ้น
                 สมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย) ได้ยกเลิกมาตรการที่เป็นการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีหมดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ส่วนฟิลิปปินส์จะยกเลิกภายใน  1 มกราคม 2555 และ CIMV ภายใน 1 มกราคม 2558
                 ได้จัดทำ ASEAN Trade Facilitation Framework ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะถดวกทางการค้า รวมถึงแผนงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ได้แก่ พิธีการศุลกากร กระบวนการทาบการค้า มาตรฐานและการรับรอง มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ASEAN Single Window และ ASEAN Trade Repository เป็นต้น

 

ข่าว ณ. วันที่ 21 พ.ค. 2557 เวลา 08.53 น. โดย สำนักปลัด อบต.ศรีมงคล

ผู้เข้าชม 887 ท่าน

 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 087-825-2798
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ 67160
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมงคล
โทรศัพท์ : 056-731-383 โทรสาร : 056-731-383
จำนวนผู้เข้าชม 11,814,731 เริ่มนับ 1 ธ.ค. 2553 จัดทำโดย : NAXsolution.com
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10